Pages

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

ขนุน (Jack Fruit)




ขนุน (Jack Fruit)
http://misterfruitthailand.com/images/px.gif

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Artocarpus heterophyllus
ก่อนอื่นเรามาดูการเรียกชื่อ  ขนุนตามถิ่น  หรือภาคกันครับว่ามีการเรียกชื่อกันอย่างไร
ขนุน ทางภาคอีสานเรียกว่า บักมี่
ภาคเหนือเรียกปาหนุน
ภาคใต้เรียก หนุน
กาญจนบุรีเรียก กระนู
มีชื่อสามัญว่า Jack fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus heterophyllus lam. ถิ่นกำเนิดของขนุนอยู่ที่ประเทศอินเดีย จากนั้นได้แพร่หลายไปบนผืนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยกระบวนการค้าที่ติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันในแถบนี้ขนุนได้รับควานิยม อย่างมากโดยเฉพาะในแหลมมลายูได้ชื่อว่า แจ็กฟรุต (jack fruit) คำว่า jack มาจากคำว่า จากา (jaka) เป็นภาษาโปรตุเกส ซึ่งก็เพี้ยนมากคำพื้นเมืองมลายู คือ จัคคา (Chakka) แปลว่า "กลม" อีกที่หนึ่ง คำว่า แจ๊กฟรุตนี้ เรื่มปรากฎครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 17

 -  
ขนุนไม่ได้เป็นผลไม้พื้นเมืองของไทย แต่ก็ไม่ปรากฎหลักฐานใดที่จะอ้างอิงได้ว่าใครนำขนุนเข้าปลูกเมื่อไหร่หรือ อย่างไร แต่เดิมดินแดนสยามก็มีขนุนมาตั้งแต่ครั้งสมัยพ่อขุนรามคำแหง ดังที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกว่า "ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ คำว่า "ลาง" เป็นภาษาไทใหญ่ หมายถึง "ขนุน" ครั้นล่วงถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ปรากฎว่าได้กล่าวไว้ในจดหมายเหตุของวิละภาเคทะระ เรื่อง "คณะฑูตลังกามาประเทศสยาม" ว่าคนสายามได้มีการในสิ่งของต้อนรับ หนึ่งในนั้นมีขนุน 11 ผลด้วย

 
คนไทยนิยมปลูกขนุนไว้ตามบ้าน เพราะเชื่อว่า "ขนุน" เป็นนามมงคล ปลูกไว้ในบ้านไหน ก็จะให้ความเป็นสิริมงคลทำให้บ้านนั้นได้รับการเกื้อกูล หนุนเนื่องให้รุ่งเรืองในชีวิตและอาชีพการงาน 


-  ขนุนเป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็ง ตะกูลเดียวกับต้นสาเกลำต้นใหญ่ มียางขาวทั้งต้น ใบออกแบบสลับ รูปร่างกลมรีใบสีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวและหนา ดอกออกเป็นช่อสีเขียว ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้ออกบริเวณปลายกิ่งหรือออกใบ เป็นแท่งยาว ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาว ออกตามลำต้นหรือกิ่งก้านใหญ่ ขนุนให้ผลดก ต้นที่สมบูรณ์สามารถให้ผลได้เต็มที่มากถึง 200-300 ผล ผล



ขนุนเติบโตมาจากดอกเล็ก ๆ นับร้อยนับพันที่ผสานกัน เมื่อติดผลจำนวนนับร้อยเป็นยวงหุ้มเมล็ด (ยวงคือเนื้อขนุนส่วนที่นำมากิน) มีซังเป็นเส้น ๆ รองรับ เกาะเรียงกันบนแกนขนุน มีเปลือกหุ้มยางทั้งหมอ จึงทำให้ดูคล้ายเป็นผลเดียวกัน ลักษณะเดียวกับสับปะรด ผลดิบเปลือกสีเขียวสด มีหนามทู่เล็ก ๆ รอบผล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 20-35 ซม. หากกรีดเปลือกจะมียางเหนียว สีขาวไหลเยิ้มออกมา เมื่อขนุนแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง หนามบนผิวเปลือกจะแบนป้านออกภายในผลจะมีซังขนุนเป็นเส้น ๆ หุ้มยวงสีเหลืองไว้ ภายในยวงมีเมล็ดกลมรี สีเครีม เปลือกหุ้มเมล็ดบาง


-  ขนุนมีหลายพันธุ์หลายสี หลายเนื้อและหลายระดับความหวานซังขนุนบางผลจะหวานหอมเช่นเดียวกับยวงนำมากิน ได้เช่นเดียวกับเนื้อขนุน แต่ซังขนุนส่วนมากมักเหนียว รสหวานจือซืด จึงถูกทิ้ง ขนุนมีหลายขนาด ขนาดใหญ่หนักถึง 40 กิโลกรับ นับเป็นผลไม้ผลใหญ่ที่สุดในบรรดาผลไม้ทั้งหลายทั้งปวงในโลก ขนุนมีมากมายหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์ขุนวิชาญ อีถ่อ แม่น้อยทะวาย และละแม เป็นต้น

ขนุนที่นิยมปลูกมีดังต่อไปนี้
o พันธุ์ตาบ๊วย เนื้อสีจำปาออกส้มเหลือง ผลขนาดใหญ่เนื้อหนา หวานกรอบ
o พันธุ์ฟ้าถล่ม ขนาดใหญ่หนักถึง 20-30 กิโลกรับ ลูกค่อนข้างกลม เนื้อหนา สีเหลืองทอง รสหวานสนิท
o พันธุ์ทองสุดใจ ผลขนาดใหญ่ มีน้ำหนักถึง 25 กิโลกรัม รูปร่างยาว เนื้อสีเหลือง แห้งกรอบ รสหวานปานกลางไม่หวานจัดเท่าฟ้าถล่ม
o พันธุ์จำปากรอบ เนื้อสีจำปา เนื้อไม่หนาเท่าไร รสหวานอมเปรี้ยวนิด ๆ ผลมีขนาดกลาง น้ำหนัก 15-18 กิโลกรัม 




-  ขนุนออกดอกตลอดปี จึงมีขนุนสุกให้กินตลอดปีเช่นกัน ในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม เป็นฤดูกาลที่ขนุนสุกมากที่สุด แหล่งปลูกอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง นครปฐม นครสวรรค์ พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ 



-   เนื้อขนุนสุกเป็นเครื่องชูกลิ่นชูรสขนมหวานอื่น ๆ ได้ดี เช่น ฉีกใส่ไอศกรีมกะทิสด ลอดช่องสิงคโปร์ รวมมิตรหวานเย็น และใส่ในน้ำเชื่อม จะได้ทั้งกลิ่นและรสชาติอันเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของขนุน นอกจากนี้คนโบราณยังเอาขนุนไม่ทำเป็นหน้าข้าวเหนียวมุนเพือชูกลิ่นหอม มีรสหวานจัดเข้ากันได้ดีกับความมันเหนียวของข้าวเหนียวมูน

-  ขนุนสุกนำไปอบแห้งเป็นขนุนแห้งพร้อมกินเป็นของว่างคนอินโดนีเซีย ใช้ขนุนแห้งมารับแขกต่างชาติอย่างภาคภูมิใจในประเทศไทยมีขนุนอบแห้งบรรจุถุง ออกมาขายอยุ่บ้าง แต่ไม่แพร่หลาย ส่วนขนุนอ่อนนำมาใช้เป็นผักปรุงอาหารได้

คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
ขนุน เป็นยาระบายอ่อน ๆ บำรุงกำลัง แก้กระหายน้ำ ช่วยให้หายเมา ช่วยในการย่อยอาหาร ขนุนให้พลังงานสูง เพราะมีคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย ส่วน เมล็ด ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอดและบำรุงร่างกาย แก่น หรือ กรัก ของต้นขนุนนำไปต้มน้ำ ทำเป็นสีย้อมฝาด ใช้ย้อมสบงจีวรพระ
เห็นไหมละครับว่า  ขนุน นอกจากจะเป็นผลไม้แล้วยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายๆด้าน  ตั้งแต่ลำต้น  ลงมาจนถึง  โคนราก  คนทั่วไปยังนิยมปลูกกันไว้ในบ้าน  เพราะเชื่อว่า ขนุนนั้นเป็นไม้มงคล  ให้การช่วยเหลือเกื้อกูล  หนุนเนื่องในชีวิตและการงานอีกด้วยครับ


ขอขอบคุณแหล่งที่มา  misterfruitthailand.com
สวนขนุนเงินล้าน คุณภาพส่งออกต่างประเทศ กับการใช้ไคโตซานน้ำดำ  จาก  youtube.com
และเม็ดขนุน จาก  ยูทูป  เช่นเดียวกัน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น