วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

ตะลิงปลิง (Bilimbi / Cucumber tree)






ตะลิงปลิง (Bilimbi / Cucumber tree)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Averrhoa bilimbi Linn.
การเรียกชื่อตามท้องถิ่น  มะเฟืองตรน, หลิงปลิง(ใต้), กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง ลิงปลิง (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มาเลย์-นราธิวาส)
ตะลิงปลิง แถบนราธิวาสและมาเลเซียเรียกว่า บลีมิง ภาคใต้ทั่วไปเรียกว่า หลิงปลิง มีชื่อสามัญว่า Bilimbi และ Cucumber tree ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Averrhoa Bilimbi L. ถิ่นกำเนิดของตะลิงปลิงอยู่ที่ประเทศอินโดนิเซียและมาเลเซีย
ตะลิงปลิงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเป็นใบประกอบเรียงกันเป็นคู่ ใบย่อยมีลักษณะคล้ายใบหอก ปลายใบแหลมโคนใบมน ใบสีเขียวอ่อน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ ดอกขนาดเล็ก สีแดง มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่งก้านผลออกเป็นกลุ่ม ทรงยาวรี มีร่องยาวบนเปลือก 5 ร่อง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 2.5-3.5 ยาว 6-7 ซม. ผลดิบเขียวเข้ม จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวเมื่อสุก รสเปรี้ยว ฉ่ำน้ำ ภายในมีเมล็ดทรงรีแบน
ตะลิงปลิงเป็นไม้ที่ชาวบ้านนิยมนำมาปลูกตามบ้านสามารถขึ้นได้ทั่วไปทุก พิ้นที ให้ผลดกในช่วงเดือนธันวาคมและออกดอกเกือบตลอดปี
ตะลิงปลิงเป็นผลไม้ที่รสเปรี้ยวจัด นำมาใส่ในแกงคั่วต้มหมู ทำน้ำพริก ใส่น้ำบูดู ยำต่าง ๆ หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ กินกับขนมจีน นอกจากนั้นยังนำมาทำเป็นผลไม้แช่อิ่ม และคั้นเป็นน้ำผลไม้ หรือกินสดจิ้มพริกกับเกลือหรือน้ำปลาหวาน

คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
ผลตะลิงปลิง มีวิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม และฟอสฟอรัส รักษาอาการไอ ละลายเสมหะ รักษาโรคลักปิดลักปิด ต้นอ่อน เป็นยาระบาย ราก รักษาอาการร้อนใน แก้กระหายน้ำ ใบ ลดอาการคัน แก้คางทูม ดอกแก้ไอ
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆ  จาก มีสเตอร์ ฟรุต ไทย แลนด์ ดอท คอม
ขอบคุณภาพจาก  http://www.thaieditorial.com

ตะขบฝรั่ง(Jamaican cherry)







ตะขบฝรั่ง (Calabura /Jamaican cherry)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Muntingia calabura L.

ตะขบฝรั่ง มีชื่อพื้นเมืองว่า ตะขบ ครบฝรั่ง มีชื่อสามัญว่า Calabura และ Jamaican cherry ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muntingia calabura L. ตะขบฝรั่งมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้

แต่ตามภาคอีสาน  เขาเรียก  เขาเอิ้นกันจั๋งได๋  เขาเรียdว่า  หมากตะขบ 

ตะขบฝรั่งเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 5-7 เมตร เปลือกต้นสีเทา แผ่กิ่งก้านขนานกับพื้นดินคล้ายร่ม ให้ร่มเงาดีมากตามกิ่งมีขนนุ่มปกคลุม ส่วนของยอดอ่อนเมื่อจับดูจะรู้สึกเหนียวมือ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมหนา ดอกสีขาว ออกดอกเดี่ยว หรือเป็นคู่เหนือซอกใบ ผลกลมเมื่อสุกมีสีแดงและจะเป็นสีแดงก่ำเมื่อสุกเต็มที ภายในผลมีเมล็ดนิ่มจำนวนมาก เนื้อเป็นทราย

ตะขบฝรั้งขึ้นง่าย ขึ้นทั่วไป เพราะนกกินตะขบฝรั่งแล้วถ่ายมูลซึ่งมีเมล็ดตะขบฝรั่งออกมา จึงเห็นได้ทั่วไปตามที่ดินรกร้าง ตามบ้าน ตะขบฝรั่งขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย ผลสุกมีรสหวานหอม รับประทานเป็นผลไม้ กินเนื้อพร้อมเมล็ด หรือแปรรูปเป็นไวน์ผลไม้อย่างที่ตำบลปัถวี จังหวัดจันทบุรี เขาทำกัน


คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
เนื้อลูกตาล มีคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี เป็นต้น มีสรรพคุณช่วยละลายเสมหะในลำคอ บรรเทา อาการไอ แก้กระหายน้ำ และช่วยลดความร้อนในร่างกาย
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล มีส เตอร์ฟรุต ไทยแลนด์ ดอท คอม
กลิตเตอร์สวย จาก  โพสต์จัง ดอทคอม
ภาพจากบ้าน มหา ดอทคอม

ชมพู่ (Rose Apple)






ชมพู่ (Rose Apple)
http://misterfruitthailand.com/images/px.gif

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Eugenia jambos L.
ชมพู่ เป็นผลไม้ที่คนไทยเรียกเพี้ยนมาจากคำภาษามลายูว่า "จัมบู" หรือ "จามู" อินเดียกเรียกว่า gulab-jaman ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า pomme-rose ในสเปนเรียกว่า poma-rose มีชื่อสามัญว่า Rose apple เพราะมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลาบชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syzygium jambos (L.) Alston ชมพู่มีถิ่นกำเนิดแถบมลายู มีหลากหลายสายพันธุ์ชื่อที่เรียกในแต่ละท้องถิ่นล้วนเพี้ยนมาจากคำว่า "จัมบู" ของมลายูทั้งสิ้น บางตำราระบุว่าแหล่งดั้งเดิมของชมพู่อยู่ในประเทศอินเดีย เพราะเป็นแหล่งรวมของพันธุ์ชมพู่หลากหลาย
ชมพู่เป็นไม้ต้นทรงพุ่มขนาดกลาง ใบรูปหอก เรียบหนาเป็นมัน ดอกสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อ มีกลิ่นหอมผลรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 4-6 ซม. ยาว 7-9 ซม. แต่ละพันธุ์มีขนาด ความยาว และสีสันแตกต่างกัน มีทั้งสีแดง สีเขียว หรือเขียวมีแดงแทรก เนื้อชมพู่ฉ่ำน้ำ รสชาติมีตั้งแต่จืดกระทั่งหวานจัด มีกลิ่นหอม บางพันธุ์มีเมล็ด บางพันธุ์มีเฉพาะไส้ จำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้
o Syzygium jambos เป็นพันธุ์ที่ฝรั่งเรียกว่า rose apple ตัวอย่างเช่น ชมพู่น้ำดอกไม้ ชมพู่พันธุ์นี้แม้จะมีกลิ่นหอมแต่รสจืดซืด
o Syzygium malaccensis บางที่เรียกพันธุ์มาเลย์ ผลทรงกลมรีเล็กน้อย กลิ่นหอม มีรสหวานอ่อน ๆ เช่น ชมพู่ สาแหรก ชมพู่มะเหมี่ยว เป็นต้น
o Syzygium samaramgense มักเรียกว่า พันธุ์ขวา หรือพันธุ์อินโดนีเซีย
o Syzygium aqueum มีชื่อสามัญว่า water apple แทนที่จะเป็น rose apple เพราะพันธุ์นี้มีน้ำมาก กรอบและรสหอมหวาน ชมพูไทยหลายชนิดอยู่ในกลุ่มนี้
ชมพู่พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่
o ชมพู่มะเหมี่ยว ผลสีแดงเข้ม เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมคล้ายดอกกุหลาบ
o ชมพู่สาแหรก ลักษณะภายนอกคล้ายชมพู่มะเหมี่ยวแต่ขนาดผลเล็กกว่า บริเวณปลายกลีบยื่นออกมาคล้ายกับปากนำ เนื้อออกสีขาวขุ่น รสหวานฉ่ำน้ำ
o ชมพู่แก้วแหม่ม ผลสีสีขาวออกชพุ เนื้อนุ่ม มีไส้เป็นปุย รสจือ มีกลิ่นหอม
o ชมพู่พลาสติก หรือชมพู่แก้ว ขนาดเล็ก รูรงแป้น ผิวสีแดงสด เนิ้อน้ยอ รสเปรี้ยว มักปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้าน
o ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นชมพู่ผลกลม ภายในผลกลวง ที่ก้นผลมีกลีบ มองดูคล้ายดอกไม้ ผลดิบสีเขียวเข้ม ผลสุกสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอม อันเป็นที่มาของชื่อ น้ำดอกไม้

ชมพู่ที่ปลูกเพื่อการค้า ได้แก่
o ชมพู่เพชรสุวรรณ ผิวสีเขียวอมแดง เนื้อหนากรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวาน
o ชมพู่เพชรสายรุ้ง เป็นพันธุ์ที่ปลูกในจังหวัดเพชรบุรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2378 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างชมพุ่กะหลาป่าของอินโดนีเซียกับชมพู่แดงของไทย เป็นชมพู่ที่มีรสหวานกรอบ และราคาแพงที่สุดในบรรดาชมพู่ด้วยกันรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำ ตรงกลางผลป่องเล็กน้อย ผิวเปลือกสีเขียว เวลาแก่จัดจะเห็นเส้นริ้วสีแดงที่ผิวชัดเจน เนื้อแข็งกรอบ รสหวานมากกว่าชมพู่ทุกชนิด
o ชมพู่ทับทิมจันทน์ ผลยาวรี ตรงกลางคอด บริเวณปลายผลป่อง ผิวสีแดง เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวาน กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด
o ชมพู่ทูลเกล้า เป็นชมพู่สีเขียวอ่อน รูปกรวยแคบ ผลยาวรีทรงสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ ขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย ผิวเรียบ สีเขียวอ่อน เนื้อในสีขาวออกเขียว เนื้อหนา กรอบ ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด
o ชมพุ่เพชรน้ำผึ้ง ผลยาวรี รูปกรวยแคบ ขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย เปลือกหนา สีแดงเข้ม เนื้อสีขาว กรอบ รสหวานอมฝาดเล็กน้อย

นอกจากนี้ยังมีพันธุ์อื่น ๆ เช่น ชมพู่เพชรชมพุ ชมพู่เพชรสามพราน และชมพูนัมเบอร์วัน เป็นต้น

ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมเป็นฤดูกาลของชมพุ่ที่ออกผลปีละครั้ง แต่เดี๋ยวนี้ชาวสวนสามารถทำชมพู่ทะวายออกมาขายในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และธันวานคมได้ แหล่งปลูกสำคัยอยู่ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และจังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น 


คนไทยกินชมพู่เป็นผลไม้หากรสหวานดีก็กินสด ๆ แต่หากรสอมเปรี้ยวก็จิ้มพริกกับเกลือคนไทยสมัยก่อนใช้ชมพู่จจืดเป็นผักชนิด หนึ่ง
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
ชมพู่ เนื้อฉ่ำน้ำ กินแล้วสดชื่น แก้กระหายได้ดี มีวิตามินซีป้องกันโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เหล็ก เส้นใย วิตามินเอ วิตามินปี1 และวิตามินบี2
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล misterfruitthailand.com