ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Eugenia jambos L.
ชมพู่ เป็นผลไม้ที่คนไทยเรียกเพี้ยนมาจากคำภาษามลายูว่า
"จัมบู" หรือ "จามู" อินเดียกเรียกว่า gulab-jaman ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า pomme-rose ในสเปนเรียกว่า
poma-rose มีชื่อสามัญว่า Rose apple เพราะมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลาบชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syzygium jambos
(L.) Alston ชมพู่มีถิ่นกำเนิดแถบมลายู
มีหลากหลายสายพันธุ์ชื่อที่เรียกในแต่ละท้องถิ่นล้วนเพี้ยนมาจากคำว่า
"จัมบู" ของมลายูทั้งสิ้น
บางตำราระบุว่าแหล่งดั้งเดิมของชมพู่อยู่ในประเทศอินเดีย
เพราะเป็นแหล่งรวมของพันธุ์ชมพู่หลากหลาย
•
ชมพู่เป็นไม้ต้นทรงพุ่มขนาดกลาง ใบรูปหอก เรียบหนาเป็นมัน
ดอกสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อ มีกลิ่นหอมผลรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำ
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 4-6 ซม. ยาว 7-9 ซม. แต่ละพันธุ์มีขนาด ความยาว และสีสันแตกต่างกัน มีทั้งสีแดง
สีเขียว หรือเขียวมีแดงแทรก เนื้อชมพู่ฉ่ำน้ำ
รสชาติมีตั้งแต่จืดกระทั่งหวานจัด มีกลิ่นหอม บางพันธุ์มีเมล็ด
บางพันธุ์มีเฉพาะไส้ จำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้
o Syzygium jambos เป็นพันธุ์ที่ฝรั่งเรียกว่า rose
apple ตัวอย่างเช่น ชมพู่น้ำดอกไม้
ชมพู่พันธุ์นี้แม้จะมีกลิ่นหอมแต่รสจืดซืด
o Syzygium malaccensis บางที่เรียกพันธุ์มาเลย์
ผลทรงกลมรีเล็กน้อย กลิ่นหอม มีรสหวานอ่อน ๆ เช่น ชมพู่ สาแหรก ชมพู่มะเหมี่ยว
เป็นต้น
o Syzygium samaramgense มักเรียกว่า พันธุ์ขวา
หรือพันธุ์อินโดนีเซีย
o Syzygium aqueum มีชื่อสามัญว่า water apple แทนที่จะเป็น rose apple เพราะพันธุ์นี้มีน้ำมาก
กรอบและรสหอมหวาน ชมพูไทยหลายชนิดอยู่ในกลุ่มนี้
• ชมพู่พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่
o ชมพู่มะเหมี่ยว ผลสีแดงเข้ม เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดขนาดใหญ่
รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมคล้ายดอกกุหลาบ
o ชมพู่สาแหรก
ลักษณะภายนอกคล้ายชมพู่มะเหมี่ยวแต่ขนาดผลเล็กกว่า
บริเวณปลายกลีบยื่นออกมาคล้ายกับปากนำ เนื้อออกสีขาวขุ่น รสหวานฉ่ำน้ำ
o ชมพู่แก้วแหม่ม ผลสีสีขาวออกชพุ เนื้อนุ่ม มีไส้เป็นปุย รสจือ
มีกลิ่นหอม
o ชมพู่พลาสติก หรือชมพู่แก้ว ขนาดเล็ก รูรงแป้น ผิวสีแดงสด
เนิ้อน้ยอ รสเปรี้ยว มักปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้าน
o ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นชมพู่ผลกลม ภายในผลกลวง ที่ก้นผลมีกลีบ
มองดูคล้ายดอกไม้ ผลดิบสีเขียวเข้ม ผลสุกสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอม
อันเป็นที่มาของชื่อ น้ำดอกไม้
• ชมพู่ที่ปลูกเพื่อการค้า ได้แก่
o ชมพู่เพชรสุวรรณ ผิวสีเขียวอมแดง เนื้อหนากรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวาน
o ชมพู่เพชรสายรุ้ง
เป็นพันธุ์ที่ปลูกในจังหวัดเพชรบุรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2378 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างชมพุ่กะหลาป่าของอินโดนีเซียกับชมพู่แดงของไทย
เป็นชมพู่ที่มีรสหวานกรอบ
และราคาแพงที่สุดในบรรดาชมพู่ด้วยกันรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำ
ตรงกลางผลป่องเล็กน้อย ผิวเปลือกสีเขียว
เวลาแก่จัดจะเห็นเส้นริ้วสีแดงที่ผิวชัดเจน เนื้อแข็งกรอบ
รสหวานมากกว่าชมพู่ทุกชนิด
o ชมพู่ทับทิมจันทน์ ผลยาวรี ตรงกลางคอด บริเวณปลายผลป่อง
ผิวสีแดง เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวาน กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด
o ชมพู่ทูลเกล้า เป็นชมพู่สีเขียวอ่อน รูปกรวยแคบ
ผลยาวรีทรงสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ ขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย
ผิวเรียบ สีเขียวอ่อน เนื้อในสีขาวออกเขียว เนื้อหนา กรอบ ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอม
ไม่มีเมล็ด
o ชมพุ่เพชรน้ำผึ้ง ผลยาวรี รูปกรวยแคบ ขั้วผลแคบกลมมน
ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย เปลือกหนา สีแดงเข้ม เนื้อสีขาว กรอบ
รสหวานอมฝาดเล็กน้อย
•
นอกจากนี้ยังมีพันธุ์อื่น ๆ เช่น ชมพู่เพชรชมพุ
ชมพู่เพชรสามพราน และชมพูนัมเบอร์วัน เป็นต้น
•
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมเป็นฤดูกาลของชมพุ่ที่ออกผลปีละครั้ง
แต่เดี๋ยวนี้ชาวสวนสามารถทำชมพู่ทะวายออกมาขายในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
และธันวานคมได้ แหล่งปลูกสำคัยอยู่ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
และจังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น
•
คนไทยกินชมพู่เป็นผลไม้หากรสหวานดีก็กินสด ๆ
แต่หากรสอมเปรี้ยวก็จิ้มพริกกับเกลือคนไทยสมัยก่อนใช้ชมพู่จจืดเป็นผักชนิด
หนึ่ง
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
ชมพู่ เนื้อฉ่ำน้ำ กินแล้วสดชื่น แก้กระหายได้ดี
มีวิตามินซีป้องกันโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เหล็ก เส้นใย วิตามินเอ วิตามินปี1
และวิตามินบี2
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น