วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

ตะลิงปลิง (Bilimbi / Cucumber tree)






ตะลิงปลิง (Bilimbi / Cucumber tree)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Averrhoa bilimbi Linn.
การเรียกชื่อตามท้องถิ่น  มะเฟืองตรน, หลิงปลิง(ใต้), กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง ลิงปลิง (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มาเลย์-นราธิวาส)
ตะลิงปลิง แถบนราธิวาสและมาเลเซียเรียกว่า บลีมิง ภาคใต้ทั่วไปเรียกว่า หลิงปลิง มีชื่อสามัญว่า Bilimbi และ Cucumber tree ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Averrhoa Bilimbi L. ถิ่นกำเนิดของตะลิงปลิงอยู่ที่ประเทศอินโดนิเซียและมาเลเซีย
ตะลิงปลิงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเป็นใบประกอบเรียงกันเป็นคู่ ใบย่อยมีลักษณะคล้ายใบหอก ปลายใบแหลมโคนใบมน ใบสีเขียวอ่อน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ ดอกขนาดเล็ก สีแดง มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่งก้านผลออกเป็นกลุ่ม ทรงยาวรี มีร่องยาวบนเปลือก 5 ร่อง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 2.5-3.5 ยาว 6-7 ซม. ผลดิบเขียวเข้ม จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวเมื่อสุก รสเปรี้ยว ฉ่ำน้ำ ภายในมีเมล็ดทรงรีแบน
ตะลิงปลิงเป็นไม้ที่ชาวบ้านนิยมนำมาปลูกตามบ้านสามารถขึ้นได้ทั่วไปทุก พิ้นที ให้ผลดกในช่วงเดือนธันวาคมและออกดอกเกือบตลอดปี
ตะลิงปลิงเป็นผลไม้ที่รสเปรี้ยวจัด นำมาใส่ในแกงคั่วต้มหมู ทำน้ำพริก ใส่น้ำบูดู ยำต่าง ๆ หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ กินกับขนมจีน นอกจากนั้นยังนำมาทำเป็นผลไม้แช่อิ่ม และคั้นเป็นน้ำผลไม้ หรือกินสดจิ้มพริกกับเกลือหรือน้ำปลาหวาน

คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
ผลตะลิงปลิง มีวิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม และฟอสฟอรัส รักษาอาการไอ ละลายเสมหะ รักษาโรคลักปิดลักปิด ต้นอ่อน เป็นยาระบาย ราก รักษาอาการร้อนใน แก้กระหายน้ำ ใบ ลดอาการคัน แก้คางทูม ดอกแก้ไอ
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆ  จาก มีสเตอร์ ฟรุต ไทย แลนด์ ดอท คอม
ขอบคุณภาพจาก  http://www.thaieditorial.com

ตะขบฝรั่ง(Jamaican cherry)







ตะขบฝรั่ง (Calabura /Jamaican cherry)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Muntingia calabura L.

ตะขบฝรั่ง มีชื่อพื้นเมืองว่า ตะขบ ครบฝรั่ง มีชื่อสามัญว่า Calabura และ Jamaican cherry ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muntingia calabura L. ตะขบฝรั่งมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้

แต่ตามภาคอีสาน  เขาเรียก  เขาเอิ้นกันจั๋งได๋  เขาเรียdว่า  หมากตะขบ 

ตะขบฝรั่งเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 5-7 เมตร เปลือกต้นสีเทา แผ่กิ่งก้านขนานกับพื้นดินคล้ายร่ม ให้ร่มเงาดีมากตามกิ่งมีขนนุ่มปกคลุม ส่วนของยอดอ่อนเมื่อจับดูจะรู้สึกเหนียวมือ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมหนา ดอกสีขาว ออกดอกเดี่ยว หรือเป็นคู่เหนือซอกใบ ผลกลมเมื่อสุกมีสีแดงและจะเป็นสีแดงก่ำเมื่อสุกเต็มที ภายในผลมีเมล็ดนิ่มจำนวนมาก เนื้อเป็นทราย

ตะขบฝรั้งขึ้นง่าย ขึ้นทั่วไป เพราะนกกินตะขบฝรั่งแล้วถ่ายมูลซึ่งมีเมล็ดตะขบฝรั่งออกมา จึงเห็นได้ทั่วไปตามที่ดินรกร้าง ตามบ้าน ตะขบฝรั่งขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย ผลสุกมีรสหวานหอม รับประทานเป็นผลไม้ กินเนื้อพร้อมเมล็ด หรือแปรรูปเป็นไวน์ผลไม้อย่างที่ตำบลปัถวี จังหวัดจันทบุรี เขาทำกัน


คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
เนื้อลูกตาล มีคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี เป็นต้น มีสรรพคุณช่วยละลายเสมหะในลำคอ บรรเทา อาการไอ แก้กระหายน้ำ และช่วยลดความร้อนในร่างกาย
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล มีส เตอร์ฟรุต ไทยแลนด์ ดอท คอม
กลิตเตอร์สวย จาก  โพสต์จัง ดอทคอม
ภาพจากบ้าน มหา ดอทคอม

ชมพู่ (Rose Apple)






ชมพู่ (Rose Apple)
http://misterfruitthailand.com/images/px.gif

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Eugenia jambos L.
ชมพู่ เป็นผลไม้ที่คนไทยเรียกเพี้ยนมาจากคำภาษามลายูว่า "จัมบู" หรือ "จามู" อินเดียกเรียกว่า gulab-jaman ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า pomme-rose ในสเปนเรียกว่า poma-rose มีชื่อสามัญว่า Rose apple เพราะมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลาบชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syzygium jambos (L.) Alston ชมพู่มีถิ่นกำเนิดแถบมลายู มีหลากหลายสายพันธุ์ชื่อที่เรียกในแต่ละท้องถิ่นล้วนเพี้ยนมาจากคำว่า "จัมบู" ของมลายูทั้งสิ้น บางตำราระบุว่าแหล่งดั้งเดิมของชมพู่อยู่ในประเทศอินเดีย เพราะเป็นแหล่งรวมของพันธุ์ชมพู่หลากหลาย
ชมพู่เป็นไม้ต้นทรงพุ่มขนาดกลาง ใบรูปหอก เรียบหนาเป็นมัน ดอกสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อ มีกลิ่นหอมผลรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 4-6 ซม. ยาว 7-9 ซม. แต่ละพันธุ์มีขนาด ความยาว และสีสันแตกต่างกัน มีทั้งสีแดง สีเขียว หรือเขียวมีแดงแทรก เนื้อชมพู่ฉ่ำน้ำ รสชาติมีตั้งแต่จืดกระทั่งหวานจัด มีกลิ่นหอม บางพันธุ์มีเมล็ด บางพันธุ์มีเฉพาะไส้ จำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้
o Syzygium jambos เป็นพันธุ์ที่ฝรั่งเรียกว่า rose apple ตัวอย่างเช่น ชมพู่น้ำดอกไม้ ชมพู่พันธุ์นี้แม้จะมีกลิ่นหอมแต่รสจืดซืด
o Syzygium malaccensis บางที่เรียกพันธุ์มาเลย์ ผลทรงกลมรีเล็กน้อย กลิ่นหอม มีรสหวานอ่อน ๆ เช่น ชมพู่ สาแหรก ชมพู่มะเหมี่ยว เป็นต้น
o Syzygium samaramgense มักเรียกว่า พันธุ์ขวา หรือพันธุ์อินโดนีเซีย
o Syzygium aqueum มีชื่อสามัญว่า water apple แทนที่จะเป็น rose apple เพราะพันธุ์นี้มีน้ำมาก กรอบและรสหอมหวาน ชมพูไทยหลายชนิดอยู่ในกลุ่มนี้
ชมพู่พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่
o ชมพู่มะเหมี่ยว ผลสีแดงเข้ม เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมคล้ายดอกกุหลาบ
o ชมพู่สาแหรก ลักษณะภายนอกคล้ายชมพู่มะเหมี่ยวแต่ขนาดผลเล็กกว่า บริเวณปลายกลีบยื่นออกมาคล้ายกับปากนำ เนื้อออกสีขาวขุ่น รสหวานฉ่ำน้ำ
o ชมพู่แก้วแหม่ม ผลสีสีขาวออกชพุ เนื้อนุ่ม มีไส้เป็นปุย รสจือ มีกลิ่นหอม
o ชมพู่พลาสติก หรือชมพู่แก้ว ขนาดเล็ก รูรงแป้น ผิวสีแดงสด เนิ้อน้ยอ รสเปรี้ยว มักปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้าน
o ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นชมพู่ผลกลม ภายในผลกลวง ที่ก้นผลมีกลีบ มองดูคล้ายดอกไม้ ผลดิบสีเขียวเข้ม ผลสุกสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอม อันเป็นที่มาของชื่อ น้ำดอกไม้

ชมพู่ที่ปลูกเพื่อการค้า ได้แก่
o ชมพู่เพชรสุวรรณ ผิวสีเขียวอมแดง เนื้อหนากรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวาน
o ชมพู่เพชรสายรุ้ง เป็นพันธุ์ที่ปลูกในจังหวัดเพชรบุรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2378 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างชมพุ่กะหลาป่าของอินโดนีเซียกับชมพู่แดงของไทย เป็นชมพู่ที่มีรสหวานกรอบ และราคาแพงที่สุดในบรรดาชมพู่ด้วยกันรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำ ตรงกลางผลป่องเล็กน้อย ผิวเปลือกสีเขียว เวลาแก่จัดจะเห็นเส้นริ้วสีแดงที่ผิวชัดเจน เนื้อแข็งกรอบ รสหวานมากกว่าชมพู่ทุกชนิด
o ชมพู่ทับทิมจันทน์ ผลยาวรี ตรงกลางคอด บริเวณปลายผลป่อง ผิวสีแดง เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวาน กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด
o ชมพู่ทูลเกล้า เป็นชมพู่สีเขียวอ่อน รูปกรวยแคบ ผลยาวรีทรงสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ ขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย ผิวเรียบ สีเขียวอ่อน เนื้อในสีขาวออกเขียว เนื้อหนา กรอบ ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด
o ชมพุ่เพชรน้ำผึ้ง ผลยาวรี รูปกรวยแคบ ขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย เปลือกหนา สีแดงเข้ม เนื้อสีขาว กรอบ รสหวานอมฝาดเล็กน้อย

นอกจากนี้ยังมีพันธุ์อื่น ๆ เช่น ชมพู่เพชรชมพุ ชมพู่เพชรสามพราน และชมพูนัมเบอร์วัน เป็นต้น

ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมเป็นฤดูกาลของชมพุ่ที่ออกผลปีละครั้ง แต่เดี๋ยวนี้ชาวสวนสามารถทำชมพู่ทะวายออกมาขายในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และธันวานคมได้ แหล่งปลูกสำคัยอยู่ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และจังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น 


คนไทยกินชมพู่เป็นผลไม้หากรสหวานดีก็กินสด ๆ แต่หากรสอมเปรี้ยวก็จิ้มพริกกับเกลือคนไทยสมัยก่อนใช้ชมพู่จจืดเป็นผักชนิด หนึ่ง
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
ชมพู่ เนื้อฉ่ำน้ำ กินแล้วสดชื่น แก้กระหายได้ดี มีวิตามินซีป้องกันโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เหล็ก เส้นใย วิตามินเอ วิตามินปี1 และวิตามินบี2
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล misterfruitthailand.com

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

ชำมะเลียง


มาวันนี้เรามีผลไม้อะไรมานำเสนอทุกคน  เชื่อได้เลยว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้  และหลายๆคนอาจจะรู้แล้ว  ผลไม้นั่นคือ 
 
 
ชำมะเลียง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Lepisanthes fruticosa Leenh.
ชำมะเลียง เป็นผลไม้พื้นบ้าน ปลูกขึ้นทั่วทุกภาคในประเทศไทย ภาคกลางกับภาคใต้เรียก ชำมะเลียง พุมเรียง หรือพุมเรียงสวน ภาคเหนือเรียก ผักเต้าและมะเถ้า ภาคอีสานเรียก หวดเข้าใหญ่และมะเกียง มีชื่อสามัญว่า Luna nut ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh.
ชำมะเลียงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเป็นใบประกอบ แบบขนนกเรียงสลับ ใบเขียวเต็มต้น มีลักษณะเรียวยาว หลายแหม ดอกออกเป็นช่อที่กิ่งและลำต้น กลีบดอกสีม่วง ผลกลมแบน เนื้อบาง มีเมล็ดใหญ่ 1-2 เมล็ด ผลออกเป็นช่อแน่น ช่อหนึ่งประมาณ 20-30 ผล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 2.5-3 ซม. ผลอ่อนสีรสฝาด เมื่อสุกเต็มที่จะมีสีดำ รสหวานอ่อน
ชำมะเลียงไม่มีขายในท้องตลาด เพราะมีให้เก็บกินกันตามบ้าน หรือในสวน ออกผลประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน พอมากตามป่าทุ่ง หรือปลูกปนกับไม้ผลอื่นตามไร่ตามสวน
ผลชำมะเลียงกินเป็นผลไม้สด คนในสมัยก่อนจะให้เด็กกินแก้อาหารท้องเสีย เพราะมีรสฝาด เนื้อชำมะเลียงนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ได้รสดี สีสวย เพียงแต่ต้องคัดเลือกผลโต ๆ สุกงอมเต็มที่ ผิวสีดำ เนื้อจึงจะมีสีม่วง และรสหวานอร่อยส่วนยอดอ่อนทำเป็นผักจิ้มหรือลวกกินกับน้ำพริกมะม่วง น้ำพริกปลาร้า หรือยำ
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
ผลชำมะเลียงแก่ มีรสฝาดหวาน คนโบราณให้เด็กดินแก้โรคท้องเสีย ราก แก้ร้อนใน แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต และเลือดกำเดาไหล
ขอขอบคุณ มีสเตอร์ ฟรุต ไทย แลนด์
กลิตเตอร์สวยจาก  โพสต์จัง ดอท คอม

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

จาก (Nipa palm / Atap palm)


 
 
 
 
จาก (Nipa palm / Atap palm)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Nipa fruticans Wurmb.
จาก เป็นไม้วงศ์ Palmae ที่กำเนิดตามป่าชายเลน ตามคูคลองแอ่งน้ำที่น้ำทะเลท่วมถึง เป็นไม้ที่ให้ผลอร่อยมีคุณอเนกประการแก่ชีวิตผู้คนตามชายน้ำกร่อย ให้ได้อาศัยประโยชน์ทุกส่วนสัดของต้นจาก จากมีชื่อสามัญว่า Nipa paim และ Atap palm ขื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypa fruticans Wurmb.

จากเป็นต้นไม้ที่ลำต้นเป็นกออยู่ใต้ดิน เรียกว่า หินจาก ใบแทงขึ้นจากกอ เป็นใบประกอบขนาดใหญ่แบบขนนก มีช่อดอกแทงเป็นงวงออกมาจากกาบใบ (พอนจาก) ที่อยู่ใต้ดิน เรียกว่า นกจาก ดอกสีเหลืองแสด เมื่อดอกกลายเป็นผลจะกระจุกันเป็นทะลาย ผลสีน้ำตาลเข้มเบียดกัน เรียกว่า โหม่งจาก เมื่อจากโตอายุได้ 4-5 ปี จึงจะออกผล เนื้อในเมล็ดของจากอ่อนนำมากินเป็นผักได้ เนื้อในเมล็ดที่แก่ขนาดกำลังพอดี เรียกว่า จากขนาดซามกิน รสหอมหวายคล้ายลูกตาลสด นำมากินสดได้ หรือเชื่อมกับน้ำตาล กินคล้ายกับลูกชิด แต่ก่อนลูกจากกับลูกชิดเป็นคู่แข่งกัน ดังนั้นจึงมักเรียกสลับกัน คือ เรียกลูกชิดว่าลูกจาก บัดนี้ลูกชิดหรือลูกตาวครองตลาดขนมหวานแล้ว จึงไม่สับสนอีกต่อไป
เมื่อเรารู้สักษณะของต้นจากแล้ว  คราวนี้เรา มาทำความรู้จักว่า  การแพร่พันธุ์  หรือการขยายพันธุ์ของต้นจากที่ว่า   นี้  มิวิธีการอย่างไร  มาอ่านกันครับ

การแพร่พันธุ์ของจากมีสองทางคือ แตกหน่อขยายกอกับผลที่แก่ร่วงลอยน้ำ ไปติดตลิ่งที่ไหนก็กลายเป็นต้นที่นั่นจากเจริญเติบโตได้ดีในดินเลนที่ค่อน ข้างแข็งและเหนียวจัดมีความทนทานต่อความเค็มของดินและน้ำในเขตน้ำกร่อยทนแสง แดดจัดได้ดี

ประโยชน์นานาประการของต้นจากมีดังนี้ ยอดจากตากแห้งเป็นใบยามวน ใช้ห่อขนมต้ม ทำหมาจาก คือที่ตักน้ำ ตอกบิด คือเชือกมุงหลังคา ทำเสวียนหม้อ คือ ที่รองกันหม้อข้าวหม้อแกง ใบจากแก่ทำเปี้ยว คือหมวกปลายแหลม ทำตับจาก ห่อขนมจาก ช่อดอกที่เรียกว่านกจากนำมาแกง เป็นผักเหนาะ ส่วนก้านทะลายปาดเอาน้ำหวานมาทำน้ำผึ้งใส เคี่ยวเป็น โซม คือน้ำตาลข้น ทำน้ำส้มจากและกลั่นเป็นเหล้าพื้นบ้าน พอนจากทำเชื้อเพลิง ผลจากแซะเอาเนื้อในเมล็ดทำขนมหวาน

คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
เนื้อในเมล็ดจาก ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล้ก เป็นต้น ใบจาก นำมาต้มดื่นแก้อาการท้องร่วงได้
การใช้ประโยชน์ต้นจาก:

1) ยอดจาก ตากแดดให้แห้งแล้วนำมาตัดทำเป็นใบจากมวนกับยาเส้น เป็นบุหรี่พื้นบ้านของไทยที่สูบกันมาช้านาน หรือจะนำมาห่อขนมต้มซึ่งทำจาก ข้าว เหนียว น้ำกะทิ และน้ำตาลจาก เรียกว่า ปัดซึ่งนิยมทำในงานเทศกาลต่างๆ เช่น งาน ชักพระ งานทอดกฐิน งานบวชนาค งานแต่งงาน เป็นต้น หรือจะนำมาทำเป็นภาชนะตักน้ำ เรียกว่า หมาจากส่วนก้านของใบอ่อนใช้ทำเป็นเชือกมุงหลังคา เรียกว่า ตอกบิดหรือจะนำมาสานทำเป็นที่รองก้นหม้อข้าวหม้อแกงในครัว เรียกว่า กันหม้อหรือ เสวียนหม้อ
2) ใบแก่ นำมาทำหมวก กันแดดกันฝนรูปทรงคล้ายหมวกของชาวเวียดนาม เรียกว่า เปี้ยวหรือจะนำมาเย็บเป็นจากตับใช้มุงหลังคาหรือฝาบ้าน ซึ่งทำรายได้ดีอีกอย่างชนิดหนึ่งของชุมชนป่าจาก นอกจากนั้นยังสามารถนำมาห่อขนมที่ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมกับมะพร้าวและ น้ำตาลจาก แล้วนำไปย่างเรียกว่า ขนมจากหรือจะทำรางรองรับน้ำฝนริมชายคาบ้าน
3) ช่อดอก หรือเรียกว่า นกจากมีลักษณะเป็นงวงที่เป็นดอกยังไม่เป็นผลจาก สามารถปาดงวง เรียก ว่า งวงตาลเพื่อนำน้ำหวานไปทำน้ำตาลจาก ซึ่งเรียกการทำน้ำตาลจากจากช่อดอกแบบนี้ว่า เป็นการทำแบบ มะยังแต่ไม่เป็นที่นิยมในชุมชนเนื่องจากต้องอาศัยเทคนิคพิเศษหลายด้านในการทำให้ น้ำหวานไหลย้อยได้ดีและนาน นอกจากนั้นส่วนช่อดอกที่เรียกว่านกจาก ยังสามารถนำมาแกงเผ็ด เรียกว่า แกงนกจาก หรือจะนำมาทำเป็นผักเหนาะ (ผักเคียง) ก็ได้
4) น้ำหวานจาก ซึ่งได้จากก้านทะลายหรือช่อดอก (ส่วนน้อย) นำมาเคี่ยวทำเป็นน้ำตาลเหลวๆ เรียกว่า น้ำผึ้งใสหรือเคี่ยวจนเกือบแห้งแล้ว โซม” (การตีน้ำตาลคล้ายการตีไข่ด้วยเครื่องตี) ทำเป็นน้ำตาลปี๊บ (น้ำตาลจาก) หรือ เรียกว่า น้ำผึ้งโซมหรือจะนำน้ำหวานมาหมักทำเป็นน้ำส้ม เรียกว่า น้ำส้มจากหรือจะนำน้ำผึ้งใสหรือน้ำผึ้งโซมไปหมักด้วยเครื่องเทศสมุนไพรและเคี่ยม แล้วกลั่นเป็นเหล้าพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์จากน้ำหวานของต้นจากนั้น เป็นผลิตผลทางเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งต่อชุมชนป่าจาก สามารถสร้างรายได้หลักและรายได้เสริมให้กับชุมชน

5) ลูกจาก ลูกจากอ่อนนำมาทำเป็นผักเหนาะ (ผักเคียง) รับประทานกับน้ำพริกหรือแกงเผ็ด เช่น แกงพุงปลา แกงคั่ว หรือจะนำส่วนหัวของลูกจากที่อ่อนไปแกงเผ็ด ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก คือ แกงคั่วหัวลูกจากกับไก่บ้าน หรือจะนำไปดองกินกับขนมจีน ส่วนลูกจากขนาดซามกิน (กำลังพอดี) ผ่ากินเนื้อในดิบๆ รสหอมหวานคล้ายลูกตาลสด หรือจะนำมาเชื่อมเป็นขนมหวานได้เหมือนลูกตาล นอกจากนั้นยังสามารถนำลูกจากที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรตากให้แห้งแล้วเก็บไว้ เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนหรือเคี่ยวน้ำตาลจาก ซึ่งช่วยประหยัดได้อีกทางหนึ่ง
6) ทางจาก นำมาผ่าซีกทำ เป็นไม้ตับข้างในของการเย็บจากตับรวมถึงส่วนของพอนจาก” (ทางจากส่วน โคนที่ติดกับกอ) ตากแห้งแล้วนำมาทำเชื้อเพลิงในครัวเรือนและเคี่ยวน้ำตาลจากได้เป็นอย่างด=
ขอขอบคุณแหล่งที่มา  มีส เตอร์ ฟรุต ไทย แลนด์ ดอทคอม
กลิตเตอร์สวยๆจาก  โพสต์จัง ดอท คอม


 

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

จันทน์เทศ (Nutmeg)




 
 
 
หลังจากหายหน้าหายตากันไปหลายๆวันอย่างไงก็ต้องขอโทษทีนะครับทุกๆคน  มาวันนี้เรามีผลไม้อะไรมานำเสนอ  รู้มาว่าผลไม้ชนิดนี้ยังได้เป็น ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยอันเป็นที่เคารพรัก  ของข้าพเจ้า ด้วย  มาดูกันเลยละกันครับ
จันทน์เทศ (Nutmeg)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Myristica fragrans Houtt

จันทน์เทศ มีชื่อสามัญว่า Nutmeg ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Myristica fragrans Houtt. ถิ่นกำเนิดของจันทน์เทศอยู่เกาะบันดา ในหมู่เกาะโมลุกกะอันได้ชื่อว่า หมู่เกาะเครื่องเทศประเทศอินโดนีเซีย ลูกจันทน์หรือเมล็ดภายในผลจันทน์เทศเป็นหนึ่งในสินค้าเครื่องยาในกองคาราวาน ที่เดินทางไปค้าขายกับเมืองอเล็กซานเดรีย ชาวจีนใช้เป็นยารักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ชาวอินเดียและชาวอาหรับใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร บำรุงตับ และบำรุงผิวพรรณ
ก่อนอื่นเรามาอ่านประวัติความเป็นมาของจัทน์เทศกันครับ  ว่ามีที่มาที่ไปกันอย่างไงกันครับ  และในเมืองไทยของเรา  นิยมปลูกกันที่ไหนกัน
- เมื่อโปรตุเกสเข้าครอบครองหมู่เกาะโมลุกกะก็ได้ผูกขาดการต้าลูกจันทน์ อย่างเข้มงวด เมื่อชาวดัตช์ยึดครองต่อจากโปรตุเกส มีผู้ลักลอบนำเมล็ดไปปลูกยังถิ่นอื่น แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั้งอังกฤษเข้าครอบครองหมู่เกาะโมลุกกะได้และได้นำเมล็ดลูกจันทน์เทศไป แพร่พันธุ์ที่สิงคโปร์ เกาะเซนต์วินเซอร์ เกาะทรินิแดด ปีนัง ศรีลังกา สุมาตรา และเกาะเกรนาดาในทวีอเมริกาใต้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเกาะที่ผลิตลูกจันทน์ส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก ในเมืองไทยมีต้นจันทน์เทศขึ้นตามเนินเขาที่มีดินอุดมสมบูรณ์ในแถบภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและชุมพร
   


- จันทน์เทศเป็นไม้ยืนต้นที่สูงใหญ่ อายุเป็น 100 ปี อยู่ในวงศ์ Myristicaceae เป็นไม้ที่แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดกหนา มีต้นตัวผู้และตัวเมีย ต้นตัวผู้จะให้ดอกเฉพาะตัวผู้ และต้นตัวเมียก็จะให้ดอกตัวเมียเท่านั้น เวลาปลูกจึงต้องให้มีต้นตัวผู้แซมต้นตัวเมีย เพื่อให้เกิดการผสมเกสรกัน ทั้งดอกตัวผู้และตัวเมียมีสีเหลือ ดอกตัวผู้จะออกเป็นกลุ่ม ส่วนดอกตัวเมียออกเป็นดอกเดียว ดอกใหญ่กว่า ผลมีลักษณะกลมรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 6-7 ซม. เปลือกสีเหลืองออกส้ม เนื้อสีเครีมมีรสเปรี้ยวฝาด มีกลิ่นหอมเมล็ดหรือที่เรียกว่า ลูกจันทน์ มีสีน้ำตาลอมดำ เปลือกแข็งยวงเนื้อในเมล็ดสีเหลืองครีม มีกลิ่นหอม รสเผ็ดปร่า ด้านนอกเมล็ดมีรกสีแดงเป็นริ้วคลุมทั่ว เมื่อแก่จัดเนื้อผลจะปรีแตกออกเป็น 2 ซีก เผยให้เห็นรกด้านในที่คลุมเมล็ด
จันทน์เทศมีช่วงการผลิดอกออกผลเมื่อไหร่กันน๊าส์
- จันทน์เทศให้ผลผลิตได้ตลอดปี หมุนเวียนกันออกดอกติดผลในแต่ละต้น แต่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม เป็นช่วงที่ให้ผลแก่มากที่สุด

-ผลจันทน์เทศเนื้อผลแน่นแข็งกรอบ น้ำน้อย ฝานกินสด ๆ รสออกเปรี้ยวฝาดเผื่อนหอม จิ้มพริกกับเกลือกินให้ปากสะอาด กลิ่นปากหอม นิยมเอาเนื้อจันทน์เทศแก่ไปแปรรูปเป็นจันทน์เทศแช่อิ่ม จันทน์เทศเส้น และจันทน์เทศหยีกินอร่อย หอมชื่นใจ เผ็ดธรรมชาติ หวานชุ่มคอ ให้กลิ่นหอม สดชื่น สบายท้อง

- สำหรับรกที่ห่อหุ้มเมล็ดจันทน์ที่อยู่ใจกลางผลมีชื่อสามัญว่า mace หรือที่คนไทยเรียกกันว่า "ดอกจันทน์" ส่วนเมล็ดจันทน์เรียกว่า nutmeg คนไทยมักเรียกสั้น ๆ ว่า "ลูกจันทน์" ภายในเมล็ดเป็นวงที่ห่อหุ้มเมล็ดเล็ก ๆ มากมายดอกจัทน์และลูกจันทน์มีรสเผ็ดปร่าลิ้น และกลิ่นหอมแรงคล้ายกัน เฉพาะดอกจันทน์มีเนื้อหนา เมื่อใช้ทำอาหารจึงเป็นทั้งเครื่องปรุงและเครื่องเทศ ที่ให้กลิ่นรสนุ่มนวลกว่าลูกจันทน์ซึ่งนิยมส่งออกขายทั้งเปลือกแข็งที่หุ้ม อยู่ ดังนั้นก่อนใช้จึงต้องกระเทาะเปลือกแข็งออกก่อน เอาเนื้อในที่แห้งสนิทจนล่อนออกจากเปลือกนั้นออกมาใช้ นำมาทุบให้แตกกระจาย คั่วไฟให้หอม แล้วจึงป่นเป็นผง ครัวไทยใช้ใส่ในแกงคั่ว ทั้งแบบคั่วเนื้อ คั่วไก่ คั่วหมุ่ ใส่ในแกงกะหรี่ ข้าวหมกไก่ ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเป็ดย่าง เป็นต้น


- เปรียบเทียบลูกจันทน์เมืองนอกกับของบ้านเรา ลูกจันทน์จากอินโดนิเซียและอินเดียลูกยาวรีใหญ่กว่าของเราของไทยกลมรีนิด ๆ ลูกเล็ก กลิ่นหอมอ่อนกว่า เผ็ดน้อยกว่า ส่วนดอกจันทน์หรือรกจันทน์ของไทยสีแดง เยื่อบาง กลิ่นหอมและรสเผ็ดน้อยกว่าของเมืองนอก ของเขาดอกจันทน์จะหนากว่า มีรสมันคล้ายถั่ว กลินหอมแรงกว่า นิยมเคี้ยวกินเล่น เฉพาะอินโดนีเชียที่นำเอาเนื้อผลจันทน์เทศมาทำแซ่อิ่มคล้ายของเรา ซึ่งเรายังนำไปใช้ทำจันทน์หยี ที่อื่นก็มีบ้างที่นำไปทำแยม เยลลี่ และลูกกวาด


- ในด้านการครัวของต่างชาติ ลูกจันทน์และดอกจันทน์ใช้ปรุงอาหารในฐานะเครื่องเทศ ทั้งในการให้กลิ่นและให้รส เฉพาะดอกจันทน์นั้นถือว่าให้ทั้งสีสันและเนื้อดอก อินเดียมักใช้เครื่องเทศทั้งสองชนิดในอาหารโมกุล (Moghul) มากมายหลายชนิด ครัวอาหรับใช้ปรุงอาหารที่ทำจากเนื้อแพะ เนื้อแกะ ครัวดัตช์ใส่ในมันฝรั่งบด สตู และฟรุตสลัด ครัวอิตาลีใส่ในอาหารจากผักรวมทั้งไส้กรอก เนื้อลุกวัว พาสต้า ส่วนอาหารหวานที่นำลุกจันทน์มาประกอบ เช่น เค้กน้ำผึ้ง เค้กผลไม้ ฟรุตเดสเสิร์ต ฟรุตพันช์ พายเนื้อ อาหารจานไขและชีส เป็นต้น เมล็ดลูกจันทน์บดเป็นผลยังใช้โรยหน้าให้กลิ่นหอมกับขนมปัง บัตเตอร์พุดดิ้ง และช็อกโกแลตร้อน

- ความที่ดอกจันทน์และลูกจันทน์มีสรรพคุณมากมายครั้งหนึ่งเคยใช้เป็น ตัวยยารักษาโรคอเนกประสงค์ทั้งในอินเดียและจีน ปัจจุบันลูกจันทน์ใช้ในอุตสาหกรรมที่อเมริกามากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ตามโรงงานผลิตอาหารกระป๋อง เครื่องหอม เครื่องสำอาง สบู่ ยาสระผม สุรา ลูกอมลูกกวาด ตลอดจนเป็นส่วนผสมของยารักษาโรค ซึ่งผลิตกันมากทางประเทศแถบเอเชีย

คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
เนื้อจันทน์เทศ มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้บิด ดอกตัวผู้ตากแห้ง เป็นส่วนผสมในเครื่องยาจีน มีฤทธิ์ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ธาตุอาหารพิการ นำมาชงน้ำร้อยดื่มช่วยย่อยอาหาร ทำให้สบายท้อง ลูกจันทน์ มีน้ำมันหอมระเหย นำมาทำเป็นยาดม แก้วิงเวียนหน้ามือตาลาย ดอกจันทน์ (รกจันทน์) และลูกจันทน์ ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ ร้อนใน ผื่นคัน ลมจุกเสียด เลือดกำเดาออก ท้องร่วง บำรุงปอด หัวใจ ตับ น้ำดี ผิวพรรณ ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ขับเสมหะ และกระจายเลือดลม
ขอขอบคุณแหล่งที่มา  มีส  เตอร์ ฟรุต ไทย แลนด์ ดอท คอม
กลิตเตอร์สวยๆจาก โพสต์จัง ดอท คอม
   
 

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

เงาะ (Rambutan)



เงาะ (Rambutan)
http://misterfruitthailand.com/images/px.gif

ชื่อทางวิทยาศาสตร์:
Nephelium lappaceum
ก่อนอื่นเรามาอ่านประวัติของเงาะกันก่อนดีกว่าว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรกันครับ
เงาะ เป็นผลไม้เมืองร้อน คนไทยเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า "เงาะ" เพราะลักษณะภายนอกของผล มีขนขึ้นตามเปลือกคล้ายกับผมบนหัวของคนป้าที่มีผมหยิกหยอยที่เราเรียกกว่า "เงาะซาไก" มีชื่อสามัญว่า Rambutan ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nephelium lappaceum L. เงาะมีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมลายูทางเขตที่ราบตะวันตก จากนั้นจึงแพร่ขยายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศเขตร้นอื่น ๆ เช่น ศรีลังกา และไปไกลถึงเกาะซานซิบาร์ ทวีปแอฟริกา ชาวมลายูเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า "rambut" ซึ่งหมายถึง "ผมหรือขน" ต่อมามีการเรียกเพี้ยนไปเป็น "rambutan" แต่ก่อนฝรั่งเห็นเงาะก็บอกว่า "ประหลาดมาก" จึงเปรียบเป็น "เชอร์รีมีขน" เงาะจากมลายูถูกน้ำเข้ามาปลูกทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าตั้งแต่เมื่อใด

¦เงาะเป็นพืชยืนต้นในวงศ์ Sapindaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับลิ่นจี่และลางสาด ลำต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่เปลือกสีเทาแก่ปนน้ำตาล ใบเป็นใบรวม มีใบย่ยอ 2-4 คู่ ใบเขียวเป็นมัน ออกดอกสีเหลืองตามกิ่งหรือยอด ผลเงาะมีทั้งผลกลมแบน และยาวแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 4-5 ซม. เปลือกนอกหนา มีขนอยู่รอบผล ขนเป็นสีเหลือง แดง หรือชมพู เปลือกล่อนจากเนื้อ เนื้อเงาะสีขาวหรือนวลใสหุ้มเมล็ด รสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว ขึ้นอยู่กับพันธุ์
  คราวนี้พันธุ์ของเงาะที่เราทานๆเข้าไปนั้น  มีอยู่กี่พันธุ์กันน๊าส์!!!!!
¦ เงาะในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ สามารถแยกประเภทได้ 3 ประเภท คือ
พันธุ์ดั้งเดิม เช่น พันธุ์อากร สีนาก เจ๊ะหมง เปเรก นังเบอร์ลี ตาวี ซงลังงอร์ ฯลฯ
พันธุ์ปรับปรุง เช่น พลิ้ว1 พลิ้ว2
 และเงาะพันธุ์ที่นิยมปลูกบริโภคซึ่งมีหลายพันธุ์เช่นกัน ดังนี้

เงาะพันธุ์โรงเรียน 

¦พันธุ์โรงเรียน เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ลักษณะผลเมื่อแก่จัดเปลือกเป็นสีแดงสวย แต่ที่ปลายขนยังมีสีเขียว เป็นเงานยอดนิยมในเมืองไทย เนื่องจากมีรสชาติหวาน เนื้อกรอบล่อนจากเมล็ด เปลือเมล็ดบางไม่แข็ง
¦ความเป็นมาของเงาะโรงเรียน เริ่มจากชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนชื่อ นาย เค หว่อง อาชีพทำเหมืองแร่ดีบุกเป็นผุ้นำเมล็ดพันธุ์จากปีนังเข้ามาปลูกที่บริเวณบ้าน พักในอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ พ.ศ. 2469 ต่อมาเลิกกิจการเหมืองแร่และได้ขายบ้านพักให้แก่กระทรวงธรรมการหรือกระทรวง ศึกษาธิการในปัจจุบัน ทางราชการจึงปรับปรุงบ้านพักเพื่อใช้เป็นอาคารเรียน และย้ายโรงเรียนนาสารมาอยู่ที่นี่เมื่อ พ.ศ. 2479 ต้นเงาะที่อยู่ติดโรงเรียนนี้ขยายพันธุ์จนกลายเป็นที่นิยมบริโภคกันมาก จึงเป็นที่มาของชื่อว่า "เงาะโรงเรียน"
เงาะพันธุ์สีชมพู

¦พันธุ์สีชมพู เป็นเงาะพันธุ์พื้นเมืองที่เกิดในจังหวัดจันทบุรี เมื่อสุกจะมีสีชมพู ไม่แดงจัด มีขนยาว เปลือกหนาเนื้อเหนียว ไม่ล่อน รสหวาน ปลูกมาในภาคตะวันออกมีข้อเสียคือ เก็บได้ไม่นาน เนื้อเป้นน้ำและขนอ่อนช้ำง่าย
เงาะพันธุ์สีทอง


¦พันธุ์สีทอง เป็นพันธุ์ดังเดิม มีปลูกในจังหวัดจันทบุรีและตราด ส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลางจะนำมาขายปนกับเงาะโรงเรียน เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงกัน ลักษณะเด่นคือผลใหญ่มาก ขนยาวสีแดง ปลายมีสีเขียว เมื่อสุกเปลือกมีสีแดงเข้ม เนื้อมีสีขาวค่อนข้างใส เมล็ดค่อนข้างแบนสีขาวปนน้ำตาล เมื่อเก็บจากต้นใหม่ ๆ จะมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย แต่ถ้าทิ้งไว้ 1-2 คืน จะมีรสหวานแหลมขึ้นและมีกลิ่นหอม
เงาะพันธุ์น้ำตาลกรวด

¦พันธุ์น้ำตาลกรวด เป็นเงาะพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์บางยี่ขันและพันธุ์โรงเรียน ผลมีลักษณะคล้ายเงาะโรงเรียนเมื่อเริ่มสุกผลจะมีสีเหลืองเข้ม โคนขนสีชมพุและส่วนปลายขนมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง เมื่อสุกเต็มที่ดคนขนจะขยายห่างกัน เปลือกผลค่อนข้างหนา เนื้อสีขาวขุ่น เมื่อห่ามมีรสเปรี้ยวอมฝาด แต่เมื่อสุกเต็มที่จะมีรสหวานแหลม กลิ่นหอม เนื้อกรอบล่อนจากเมล็ด และมีเปลือกเมล็ดติดเนื้อค่อนข้างมาก เมล็ดแบนค่อนข้างกว้างและสั้นมีสีขาวอมเหลืองคล้ายงาช้าง

¦ เงาะที่ปลูกในภาคใต้และภาคตะวันออกจะออกสู่ตลาดไม่พร้อมกัน เงาะจากภาคตะวันออกจะออกสุ่ตลาดประมาณเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ส่วนเงาะจากภาคใต้ออกสู่ตลาดประมาณเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน แหล่งปลูกเงาะที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด และสุราษฎร์ธานี 


¦เงาะเป็นผลไม้กินสด นำมาคว้านเมล็ดออก เสิร์ฟสดก็ได้หรือนำไปทำเป็นเงาะลอยแก้ว หรือแปรรูปเป็นเงาะบรรจุกระป๋อง


คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
เงาะเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีขายกันอยู่ทั่วไป เป็นผลไม้รสหวาน มีฤทธิ์อุ่น ไม่มีพิษ เงาะอุดมด้วยวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ใยอาหาร(Fiber) ช่วยในการป้องกันโรคหวัด มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง นอกจากนี้เงาะสดสามารถแก้อาการท้องร่วงชนิดรุนแรงได้ผลดี ถ้านำเปลือกมาต้มกินน้ำใช้เป็นยาแก้อักเสบได้ เพราะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก และโรคบิดท้องร่วง ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ เม็ดของเงาะไม่ควรจะรับประทาน เพราะมีพิษ ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ และอาเจียน

ขอขอบคุณแหล่งที่มา  misterfruitthailand ดอทคอม
 กลิตเตอร์สวยๆจาก postjung ดอทคอม
 เงาะในน้ำเชื่อม ตรามาลี