วันนี้เรามาผลไม้ชนิดต่อมา คือ
กระท้อนกันครับ ว่ามี
ชื่อทางวิทยาศาสตร์
การเรียกชื่อตามท้องถิ่นทั่วไป ในไทย มีชื่อต่างกันออกไป รวมทั้งวิธีการปลูก คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณกันครับ
กระท้อน
(Santol)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Sandoricum indicum
ชื่อตามท้องถิ่นในไทย
กระท้อนในแต่ละท้องถินแต่ละภาคของไทย มีชื่อเรียกกันอย่างไรมาอ่านกัน
กระท้อนในภาคอีสานเรียกว่า
หมากต้อง และบักต้อง
ภาคเหนือเรียกว่ามะตึ่น
และมะต้อง
ภาคใต้เรียกว่า
ล่อน เตียน สะตียา สะตู และสะโต
ส่วนแถบมลายูเรียกว่า
แซนทอล
คงไม่สงสัยกันนะครับว่า
ภาคกลาง หรือทางกรุงเทพฯเขาเรียกกันว่าอะไร
=.=!!!
ถิ่นกำเนิด
ถิ่นกำเนิดของกระท้อนอยู่ในแถบมลายูและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณ ใกล้เส้นศูนย์สูตร พบในประเทศไทย 2 ชนิด คือ กระท้อนป่า (Sandoricum Koetjape Merr.) และกระท้อนหวาน (Sandoricum indicum Cav.) สมัยก่อนคนไทยนิยมปลูกกระท้อนในสวนและตามบ้าน เพื่อเอาไว้เก็บกินผลและอาศัยร่มเงา
ลักษณะของกระท้อน
ถิ่นกำเนิดของกระท้อนอยู่ในแถบมลายูและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณ ใกล้เส้นศูนย์สูตร พบในประเทศไทย 2 ชนิด คือ กระท้อนป่า (Sandoricum Koetjape Merr.) และกระท้อนหวาน (Sandoricum indicum Cav.) สมัยก่อนคนไทยนิยมปลูกกระท้อนในสวนและตามบ้าน เพื่อเอาไว้เก็บกินผลและอาศัยร่มเงา
ลักษณะของกระท้อน
กระท้อนเป็นไม้ยืนต้นทรงพ่มขนาดกลางถึงใหญ่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี ใบขนาดใหญ่ ปลายใบแหลมสีเขียวเข้ม ดอกกระท้อนออกเป็นช่อ แต่ละช่อมีดอกเล็ก ๆ สีขาวครีม ผลกระท้อนมีรูปทรงค่อนข้างกลมหรือกลมแป้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 10-15 ซม. ผลดิบสีเขียว ผิวเกลี้ยงผลสุกสีเหลืองทอง หรือสีน้ำตาลอ่อน ผิวหยาบ มีรอยย่นบนผิวตามแนวยาวของผล ส่วนเนื้อติดเมล็ดสีขาวเป็นปุยเนื้อกระท้อนเกาะกันเป็นพู แต่ละผลมีประมาณ 3-5 พู แต่ละพูมี 1 เมล็ด เนื้อกระท้อนรสหวานอมเปรี้ยว บางพันธุ์หวาน บางพันธุ์เปรี้ยว เนื้อที่ติดกับเปลือกสามารถนำมากินได้ รสเปรี้ยวอมฝาด กระท้อนที่ให้ผลในปีแรกจะมีจุกยื่นออกมาตรงบริเวณขั้ว เรียกกระท้อนปีแรกนี้ว่า สอนเป็น เมื่อออกผลได้ 4-5 ปี กระท้อนจะให้ผลกลมแป้น ไม่มีจุก แม้รูปทรงจะเปลี่ยนไป แต่รสชาติยังคงเหมือนเดิม
กระท้อนเป็นไม้ผลที่สามารถทนแล้งได้ดีเยี่ยม ให้ผลผลิตช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ปลูกได้ทุกภาคทั่วประเทศ กระท้อนปลูกมากที่จังหวัดนนทบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี พิษณุโลก และสุราษฎร์ธานี การดูแลรักษา ควรมีการให้น้ำ ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย และการกำจัดวัชพืช
กระท้อนกินได้ทั้งเนื้อที่เป็นปุยสีขาวและเนื้อไต้เปลือกนิยมกิน เป็นผลไม้สดจิ้มพริกกับเกลือ หรือน้ำปลาหวาน ใช้ปรุงเป็นอาหารคาวหวานได้หลายชนิด เช่น แกงกบกระท้อน แกงอ่อมปลาดุก แกงฮังเลกระท้อน แกงคั่วกระท้อน (แทนสับประรด) ผัดเมี่ยง ตำกระท้อน กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว น้ำกระท้อน กระท้อนดอง กระท้อนในน้ำเชื่อม กระท้อนแช่อิ่ม แยมกระท้อน กระท้อนกวน และเยลลี่กระท้อน เป็นต้น
กระท้อนที่นิยมปลูกมี 3 พันธุ์ คือ กระท้อนพันธุ์นิ่มนวล เป็นกระท้อนที่ให้ผลดก ลักษณะผลกลมแป้นขนาดปานกลาง ผิวเปลือกเรียบ มีสีขาวอมน้ำตาล เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม รสหวานอมเปรี้ยวมีปุยหุ้มเมล็ดหนาฟู รสหวานจัด เมล็ดมีขนาดปานกลาง
กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย
เป็นกระท้อนที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ทองหยิบ ผลใหญ่ทรงกลมแป้น ไม่มีจก
ผิวผลเนียนละเอียด เมื่อจับดูนิ่มเหมือนกำมะหยี่ เนื้อในเป็นปุยสีขาวรสหวานสนิท
เก็บผลผลิตช่วงเดือนมิถุนายน ปลูกมากที่จังหวัดปราจีนบุรี
กระท้อนพันธุ์อีล่า
เป็นกระท้อนที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์อีไหว เหตุที่คนสมัยก่อนเรียกชื่ออีล่า
เพราะออกผลช้ากว่าพันธุ์อื่น (ล่า แปลว่า ช้า ) อีล่ามีผลใหญ่กว่าพันธุ์อื่น ๆ
เมื่อแก่จัดเปลือกนอกจะเป็นสีเหลืองเข้มหรือน้ำตาลอ่อนเปลือกบาง
เนื้อเป็นปุยสีขาวนิ่มมาก ปลูกมากที่จังหวัดนนทบุรีและปราจีนบุรี
อีล่าที่มาจากจังหวัดนนทบุรีมีรสหวานสนิท
ส่วนที่มาจากจังหวัดปราจีนบุรีมีรสหวานอมเปรี้ยวเก็บผลผลิตช่วงเดือน
มิถุนายนถึงกรกฎาคม
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
กระท้อน เป็นผลไม้มีสารแอนติออกซิแดนท์สูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็ง บำรุงโลหิต แก้ลมจุกเสียด เนื้อกระท้อนอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม เหล็ก ไนอะซิน วิตามินเอ วิตามินบี 1 และวิตามินซี ใบ ผสมน้ำต้มอาบขับเหงื่อ แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง ราก ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้มาลาเรีย แก้บิด แก้ท้องร่วง หรือตำกับน้ำและน้ำส้มสายชู ดื่มแก้ท้องเดิน และช่วยขับลม
คราวหน้าเราไปดู"กระบก" ว่ามีหน้าตา ลักษณะอย่าไงกันครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น